ระบบสารสนเทศเพื่อการบัญชี

      ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ( Accounting Information System ) คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้
     ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1. ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting System) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นใน รูป ตัวเงิน จัดหมวด หมู่รายการต่างๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแส เงินสด โดยมี วัตถุ ประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และ เจ้าหนี้ นอกจากนี้ยัง จัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจด บันทึกลงในสื่อต่างๆ เช่น เทป หรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวล และแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
- ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
- ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

      
     ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะให้ความสำคัญกับการรวบ รวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็น กระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมาก ขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น
     ผู้ใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชี แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. บุคคลภายในองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
2. บุคคลภายนอกองค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น 
   
     ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นประโยชน์ ได้แก่
– งบกำไรขาดทุน
– งบดุล
– งบกระแสเงินสด
     ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์  ( Goals and Objectives )
2.ข้อมูลเข้า ( Inputs )
        • ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ
        • ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน
3.ตัวประมวลผล ( Processor ) คือ เครื่องมือที่ใช้ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
        • การคำนวณ การเรียงลำดับ
        • การคิดร้อยละ
        • การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ ฯลฯ
4.ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์ ( Output )  คือ สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้
5.การป้อนกลับ ( Feedback)
6.การเก็บรักษาข้อมูล ( Data  Storage )
7.คำสั่งและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Instructions and Procedures )
8.ผู้ใช้ ( Users)
9.การควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ( Control and Security Measures )
     วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี มี 3 ประการ คือ
1.เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวัน
2.เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ทางกฎหมาย
     หน้าที่ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1.การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )
2.การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
3.การจัดการข้อมูล ( Data Management )
4.การควบคุมข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ( Data Control and Data Security )
5.การจัดทำสารสนเทศ ( Information Generation )

     ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชี

          1. ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันแก่ผู้บริหารระดับล่างและพนักงาน  เพื่อใช้ในการประสานงาน  ประเมินผลการปฏิบัติงาน  ควบคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าที่งานหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ  เช่น  รายงานการขาย  รายงานสินค้าคงเหลือ  รายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวัน
          2. ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ  วางแผน  และควบคุมการดำเนินงานทั้งระยะสั้น  และระยะยาวแก่ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูงเพื่อนำไปใช้ประกอบกับ ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขทางการเงิน  บริหารงานด้านการตลาด  การผลิต  หรือทรัพยากรบุคคล  เช่น กำลังซื้อของผู้บริโภค  วิเคราะห์แนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดของยอดขายสินค้า
          3. ให้ข้อมูลขั้นพื้นฐานตามกฎหมายกำหนดแก่ผู้ใช้ภายนอก  ประกอบด้วยตัวเลขในงบกำไรขาดทุน  และงบดุล  หรือถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  กิจการต้องจัดทำงบกระแสเงินสดเพิ่มเติมให้ผู้ใช้ภายนอกด้วย

     เทคโนโลยีทางการบัญชี
     1.โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูล รายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
        1.มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
        2.มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
        3.ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
        4.มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
        5.เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
        6.มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
        7.มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
        8.มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
        9.การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
      10.มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
      11.มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
      12.มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
      13.การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
     2.การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการ เงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน

     3.โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมี การใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียง ครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
     ความสามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีก นัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใน องค์การคู่ค้า

ข้อดี และข้อเสียระบบสารสนเทศทางการบัญชี


  ข้อดีระบบสารสนเทศทางการบัญชี
  1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
  2.ถูกต้องเชื่อถือได้
  3.สมบูรณ์ครบถ้วน
  4.ทันเวลา
  5.แสดงเป็นจำนวนได้
  6.ตรวจสอบความถูกต้องได้
  7. สามารถเข้าใจได้
  8.สามารถเปรียบเทียบได้
  ข้อเสียระบบสารสนเทศทางการบัญชี
  1. มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งภายในและสภาวะแวดล้อม
  2.เกิดข้อบกพร่องขึ้นภายในองค์กร
  3.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่สารสนเทศ